9.10.2558

โรคร่าเริง พฤติกรรมใช้ชีวิตของคนยุคใหม่ กลางคืนตื่น กลางวันหลับ ภัยร้ายใกล้ตัวทำสุขภาพเสื่อมโทรม

โรคร่าเริง โรคนี้ชื่อน่าสนุกแต่ผลกระทบกับสุขภาพเหลือร้ายเกินกว่าจะคาดคิด คนชอบอดหลับอดนอนเป็นประจำระวังไว้เลย




ปัจจุบันพบว่าคนมีพฤติกรรมที่เข้าข่ายในกลุ่มโรคร่าเริงกันมากขึ้น เนื่องจากในช่วงเวลากลางคืน เป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างเงียบ เหมาะกับการคิดงานหรือทำงาน บางคนก็เลือกที่จะทำงานในช่วงเวลากลางคืนแทน แต่ปัญหาคือเมื่อทำงานในช่วงเวลากลางคืน วงจรชีวิตแบบปกติก็จะเปลี่ยนไป เพราะร่างกายของคนเรามีการหลั่งฮอร์โมนตามนาฬิกาชีวิต คือ เมื่อถึงเวลานอนอวัยวะบางอย่างที่ต้องทำงานตามช่วงเวลา และหลั่งฮอร์โมนออกมาเพื่อฟื้นฟูร่างกาย หรือช่วงเวลาที่ร่างกายควรจะได้รับการพักผ่อน จะมีการหลั่งฮอร์โมนกลุ่มหนึ่งออกมา เพื่อช่วยซ่อมแซมและชาร์จพลังให้กับร่างกาย เตรียมพร้อมรับมือกับวันต่อไป แต่หากเราใช้ช่วงเวลาวงจรชีวิตที่ผิดไปจากปกติ ก็จะทำให้ฮอร์โมนผิดเพี้ยนไปด้วย นั่นจึงเป็นสาเหตุให้มนุษย์ร่าเริง มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

กลุ่มอาการของคนที่เข้าข่ายกลุ่มโรคร่าเริงที่พบบ่อย คือ มึนหัวง่าย คนที่มีความดันต่ำๆ ตลอดเวลา โดยไม่รู้สาเหตุ ขี้หนาว อ่อนเพลียไม่มีแรง แม้ว่าจะรับประทานอาหารหรือนอนหลับพักก่อนเพียงพอแล้วก็ตาม ก็ให้สงสัยไว้ก่อน เพราะฉะนั้นอย่ารอจนร่างกายไม่ไหว ควรหมั่นดูแลตัวเอง หาเวลาตรวจเช็คสุขภาพว่ามีปัญหาหรือไม่ จะได้เข้ารับการตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ



พฤติกรรมกลางวัน
หงุดหงิดง่าย
ไม่มีสมาธิอย่างแรง
คิดอะไรไม่ออก

พฤติกรรมกลางคืน
คิดงานได้ก่อนนอน
ไปเดียพรั่งพรูทำงานสนุกทั้งคืน
ไม่นอนจนหลังวัน


ผลกระทบของโรคร่าเริงกับสุขภาพ
          เมื่อร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน หรือทำบ่อย ๆ จนเกิดภาวะสะสม ระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายจะเรรวน และส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น เป็นสาเหตุทำให้ฮอร์โมนปรวนแปร รอบเดือนมาไม่ปกติ หงุดหงิดง่าย เสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม และโรคเบาหวาน



ปรับพฤติกรรมสร้างสุขภาวะให้กับชีวิตใหม่

1.ปรับเวลาในการนอนให้เป็นปกติ เมื่อถึงเวลานอนก็ควรจะนอนตามปกติ ไม่ควรเกินเที่ยงคืน เพราะโกรทฮอร์โมนจะหลั่งในช่วงเวลา 22.00-02.00 น. แต่ถ้านอนดึกมากร่างกายจะไม่ได้รับโกรทฮอร์โมน

2.หาเวลาออกกำลังกาย กระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว พบว่าในช่วงเวลากลางวัน ควรเพิ่มการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายเป็นการกระตุ้นโกรทฮอร์โมนเช่นกัน รวมไปถึงฮอร์โมนตัวอื่นๆ ที่จะทำให้ร่างกายมีสดชื่น เช่น การตื่นขึ้นมาในช่วงเช้าและออกกำลังกาย เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว เมื่อถึงช่วงเวลากลางวันก็จะทำให้รู้สึกว่ามีพลังในการทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น

3.ปรับนิสัยการรับประทาน เพิ่มเนื้อสัตว์มากขึ้น ลดแป้งให้น้อยลง บางคนจะเลือกทานอาหารที่เป็นแป้งค่อนข้างเยอะ จะทำให้เกิดอาการง่วงนอนทั้งนี้เป็นเพราะสารที่อยู่ในแป้ง บางคนอาจรับประทานอาหารมื้อเที่ยงที่มีแป้งแบบจัดเต็ม ทำให้ง่วงง่าย ก็ลองปรับการรับประทานอาหาร หันมารับประทานเนื้อสัตว์ให้มากขึ้น จะทำให้ร่างกายเกิดการตื่นตัวมากกว่า แต่สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับไม่ดี อาจหันมารับประทานแป้งในช่วงมื้อเย็น ก็อาจจะช่วยทำให้หลับสบายขึ้น แต่ยกเว้นในกลุ่มคนที่ระวังเรื่องของน้ำหนัก อาจเลี่ยงเป็นการรับประทานอาหารประเภทไฟเบอร์แทน

4.เติมวิตามินปรับสมดุลฮอร์โมน กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมแบบนี้ หากไม่ปรับตารางชีวิตใหม่จะพบว่าฮอร์โมนเกิดการพร่องลงไป แต่หากจะให้ปรับพฤติกรรมแบบทันทีก็คงยาก อาจลองปรึกษาแพทย์ก็อาจจะลองมาตรวจดูว่าค่าฮอร์โมนมันมีการเพี้ยนหรือเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และเราจะพบว่ามีวิตามินบางตัวที่มันช่วยเสริมให้วิตามินตัวนี้ สามารถที่จะกลับมาทำงานได้ดีขึ้น มันก็จะช่วยให้คนสามารถกลับมามีวงจรชีวิตามปกติได้มากขึ้น

5.สร้างสุขนิสัยและวินัยให้ตัวเอง บางคนติดนิสัยการนอนดึก ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่งานที่ต้องรีบทำส่ง หรือบางคนติดเล่นโทรศัพท์ ติดโซเชียลก็จะเพลิน อย่างน้อยก็ต้องมีวินัย ถึงเวลานอนก็จะต้องนอน



หลัก 8 อ. ห่างไกลโรคร่าเริงในระยะยาว


1.อาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างเต็มที่

2.ออกกำลังกาย ช่วยให้ร่างกายตื่นตัว ช่วยให้ร่างกายมีความกระฉับกระเฉง

3.ออกซิเจน การหายใจสั้น จะทำให้สูดออกซิเจนเข้าหัวได้ไม่เต็มที่ เวลาคิดงานก็จะคิดไม่ค่อยออก และควรพยายามคลายเครียดให้อยู่ในสมดุล

4.เอนกาย การนอนพัก คือ ควรจะจัดสุขลักษณะที่ดีให้เหมาะสมกับการนอน ก็จะช่วยให้เรื่องของการหลับพักผ่อนเป็นไปด้วยดี หรืออาจจะรับประทานกล้วยหอมก่อนจะเข้านอนสักประมาณ 1 ชั่วโมง เป็นทริคเล็กๆ ในเรื่องของการนอน เพราะในกล้วยหอมมีสารที่ช่วยในเรื่องของการนอนหลับได้เป็นอย่างดี



5.อารมณ์ การผ่อนคลาย ก่อนเข้านอน พยายามทำร่างกายให้รู้สึกรีแลกซ์มากที่สุด จะช่วยให้หลับสบายขึ้น

6.เอาพิษออก การขับถ่ายที่เป็นเวลาเป็นการเอาของเสียออกจากร่างกาย ถ้ามีสารพิษสะสมร่างกายก็จะรู้สึกอ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลา

7.อาชีพ เช่น แอร์โฮสเตสที่มีการนอนไม่เป็นเวลา ครีเอทีฟ นักเขียน ที่ต้องใช้ความเงียบในการคิดงาน วิธีนี้อาจจะแก้ไขปัญหา เช่น ช่วงเวลาที่ต้องคิดงาน อาจหามุมเงียบๆ เพื่อช่วยให้การคิดงานได้ดีขึ้น พยายามอย่าเอางานไปโหลดในช่วงกลางคืน เพราะจะไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ

8.อิทธิบาท 4 อย่างน้อยต้องมีจิตใจของเราเองที่รู้สึกว่า อยากจะดูแลตัวเอง คอยดูว่าตอนนี้ร่างกายเราเป็นอย่างไร เพราะถ้าปล่อยให้ฮอร์โมนตกลงไปเรื่อย ภูมิคุ้มกันก็จะยิ่งต่ำลง การเผาผลาญพลังงานก็จะแย่ลง ก่อให้เป็นโรคอื่นๆ ตามมา




Cr. health.kapook.com/view121492.html
     infographic.in.th
     health.haijai.com


-------------------------------------------------------------------------

 OSIM uMagic

OSIM uMagic : World’s 1st Magic Hands Massage Technology

Click - Here - For Information




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น