7.16.2558

นั่งรถนานๆ สุขภาพก็เสื่อมได้




ทราบหรือไม่ นั่งรถนานๆ สุขภาพก็เสื่อมได้

เชื่อว่าในปัจจุบันคงไม่มีใครไม่เคยพบกับปัญหารถติดเป็นแน่ การที่เราต้องทนต่อการเดินทางเป็นเวลานาน นอกจากจะทำให้เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์แล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณๆทั้งทางร่างกายและจิตใจอีกด้วย



ผลเสียที่มากับการที่เราต้องนั่งรถเป็นเวลานาน
1. เสียสุขภาพจิต
การศึกษาซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสาร Journal Of Health Economics เมื่อปี 2014 แสดงให้เห็นว่าการเดินทางไปทำงานในทุก ๆ วันสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชายโดยเฉพาะผู้หญิงที่มีลูกอยู่ในวัยก่อนวัยเรียน อาการเหล่านี้เกิดขึ้นเนื่องจากระยะเวลาในการเดินทาง เพราะต้องใช้เวลาในช่วงเช้าดูแลและไปส่งบุตรหลาน ทำให้เวลาที่เหลือในการเดินทางไปทำงานลดลง ส่งผลให้เกิดความเครียด กลัวว่าจะไปทำงานไม่ทัน  ส่งผลให้สุขภาพจิตเสียไปทั้งวันนั่นเอง


2. อ่อนเพลียและพักผ่อนไม่เพียงพอ

การศึกษาในปี 2011 ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสาร BMC Public Health แสดงให้เห็นว่า การเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะหรือแม้แต่การใช้รถส่วนตัวมีความเชื่อมโยงถึงความเครียดที่มากเป็นพิเศษ รวมทั้งอาการอ่อนเพลียและการพักผ่อนไม่เพียงพอ โดยในการศึกษายังพบด้วยว่าคนที่ใช้ยานพาหนะมักจะมีปัญหาสุขภาพมากกว่าผู้ที่เดินทางไปทำงานด้วยการเดินหรือการขี่จักรยาน



3. เสี่ยงหัวใจวายจากมลพิษทางจราจร
จากการศึกษาในวารสาร British Medical Journal พบว่าการหายใจเอาควันมลพิษที่มาจากการจราจรที่ติดขัดนั้นสามารถเพิ่มความเสี่ยงหัวใจวายสูงขึ้นภายในเวลา 6 ชั่วโมง แต่หลังจากนั้นความเสี่ยงหัวใจวายจะค่อย ๆ ลดลง ซึ่งนักวิจัยได้เปิดเผยว่ามลพิษทางอากาศนั้นไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหัวใจวายแต่เป็นปัจจัยที่ช่วยเร่งให้อาการหัวใจวายเกิดเร็วขึ้นต่างหาก


4. น้ำหนักขึ้น
 การวิจัยของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน (Washington University) ในเมืองเซนต์หลุยส์ พบว่าคนที่ต้องเดินทางไกลกว่า   24 กิโลเมตร  เป็นประจำทุกวันมีแนวโน้มว่าจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เพราะการที่จะต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางที่ยาวนานส่งผลให้คนเรามีเวลาออกกำลังกายลดลง นอกจากนี้ผู้ที่เดินทางไกลยังมีแนวโน้มที่จะมีความดันโลหิตสูงอีกด้วย โดย Christine M. Hoehner ได้อธิบายว่านี่อาจจะเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญแคลอรีซึ่งจะลดลงเมื่อเรานั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานนั่นเอง




5. เพิ่มความเสี่ยงในการหย่าร้าง
ฟังดูแล้วอาจจะไม่เกี่ยวกันเท่าไหร่ แต่นักวิจัยชาวสวีเดนจากมหาวิทยาลัย Umea University พบว่าการใช้เวลาในการเดินทางนาน ๆ มีความเชื่อมโยงกับการหย่าร้าง โดยในการศึกษาพบว่าคู่รักที่ต้องเดินทางเป็นระยะทางไกล ๆ มีความเสี่ยงถึง 40 % ที่จะเกิดการหย่าร้างมากกว่าคนทั่วไป นอกจากนี้ยังพบอีกว่าการช่วงเวลาที่เสี่ยงมากที่สุดก็ในช่วงเวลา 2 - 3 ปีแรกที่จะต้องเดินทางร่วมกัน



6. ความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมลดลง
ระยะทางในการเดินทางสามารถส่งผลต่อความรู้สึกอยากมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมได้ โดยจากการรวบรวมข้อมูลจากกว่า 2,000 ครัวเรือน พบว่า หากการเดินทางเพื่อไปทำกิจกรรมต่าง ๆ นั้นยาวนานกว่า 20 นาที ความรู้สึกที่อยากจะเป็นส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ก็จะยิ่งลดลง และหากนานกว่า 90 นาที ก็อาจจะทำให้ความรู้สึกอยากทำกิจกรรมเหล่านั้นหมดไปเลยก็เป็นได้

7. ความเครียดเพิ่มขึ้น
การที่จะต้องใช้เวลาในการเดินทางนาน ๆ โดยไม่สามารถทำอะไรได้ ส่งผลให้คนเรารู้สึกอึดอัดและเครียดมากขึ้น เมื่อทำการตรวจวัดระดับการเต้นของหัวใจในกลุ่มอาสาสมัครที่ใช้เวลาการเดินทางในชั่วโมงเร่งด่วนก็จะพบว่าพวกเขามีอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงกว่าคนปกติทั่วไป


แม้เราจะไม่สามารถหาทางเลี่ยงการเดินทางที่ใช้ระยะเวลานานอย่าง เช่นการเดินทางไปเรียนหรือไปทำงานได้ แต่ก็ใช่ว่าเราต้องยอมรับกับปัญหาสุขภาพที่ตามมานะคะ แทนที่เราจะใช้เวลาไปเปล่า ๆ บนรถระหว่างรถติดก็ลองหากิจกรรมเล็ก ๆ น้อย อย่างเช่นยืดกล้ามเนื้อแขน หรือบิดตัวไปทางซ้ายทีขวาที เพื่อยืดกล้ามเนื้อสักนิด ก็สามารถช่วยผ่อนคลายและลดความเครียดได้มากเลยทีเดียวล่ะค่ะ อย่าปล่อยให้สุขภาพและเวลาในช่วงรถติดเสียเปล่ากันเลยดีกว่า



                         


Cr.http://health.kapook.com/



ตัวช่วยสุดวิเศษที่จะทำให้คุณผ่อนคลายหายเครียด


 uCosy 3D OSIM uCaress 3D 





 Eyes & Head Massagers

















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น